วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา




ความหมาย
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
ความสำคัญ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
ความเป็นมา
ประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปีแล้ว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเป็นเครื่อง IBM 1401 ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อจัดทำสถิติและสัมมโนประชากร ต่อมา พ.ศ. 2527 รัฐบาลได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการจัดหาคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้ยุบคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ มีความคล่องตัวในการจัดหาคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และนิยมใช้แพร่หลายขึ้น พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านต่างๆ 7 ด้านได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศ การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสาร-สนเทศ การวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
ระบบแบบเดินสายเคเบิล (Wired system) จะรวมถึงสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด ระบบเครือข่ายที่อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ห่างกันไม่มากนัก สายสัญญาณที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จะมีชนิดต่าง ๆตามลักษณะเครือข่าย และความต้องการในการใช้งาน
สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลด์และไม่มีชีลด์ (Shielded and UnShielded Twisted-Pair Cable)
เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้มจำนวน 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว สายเกลียวคู่หนึ่งจะแทนช่องทางการสื่อสาร (Channel) ได้หนึ่งช่องทาง
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
เป็นสายสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลไกลกว่าสายแบบคู่บิดเกลียวแต่มีราคาสูงกว่า ประกอบด้วยสวนของสายส่งข้อมูลที่เป็นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนอยู่ตรงกลาง จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำเพื่อเป็นสายกราวนด์และหุ้มด้วยฉนวนเป็นเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์
สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
ประกอบด้วยใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย และใช้ใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเป็น ตัวหุ้ม (cladding) และหุ้มด้วยฉนวนในชั้นนอกสุด ข้อเสียคือติดตั้งและบำรุงรักษายาก มีราคาแพงที่สุดในจำนวนสายสัญญาณที่กล่าวมา
ระบบไมโครเวฟ (Microwave system) ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง เรียกว่าสัญญาณแบบ เส้นสายตา (Line of sight) สถานีหนึ่งจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้ประมาณ 30-50 กม.
ระบบดาวเทียม (Satellite systems) ใช้หลักการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานี ต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ ใช้ดาวเทียมซึ่งลอยอยู่ในพิกัดที่แน่นอนเพียง 3 ดวง ข้อเสียที่สำคัญคือจะมี เวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ทำให้ฝ่ายรับได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาที่เกิดขึ้นจริง
ระบบอื่น ๆ -
ระบบอินฟาเรกด (Infared)เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรงระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่ง รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย - ระบบวิทยุ (Radio) ใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย - ระบบสเปคตรัมแถบกว้าง (Spread Spetrum) เป็นระบบคลื่นวิทยุที่ถูกพัฒนาเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนและการดักสัญญาณ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

สื่อมวลชน







บทนำ

ปัจจุบันชีวิตของมนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลเหนือจิตใจของประชาชน ซึ่งถูกกำหนดและชักจูงให้เกิดความรู้สึกหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว สื่อมวลชนเองก็จะต้องตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องกระทำและมองดูบทบาทของตนที่จะมีส่วนในการจรรโลงสังคมให้ดีขึ้น และปรับบทบาทของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และช่วยเป็นกระจกสะท้อนภาพปัญหาและทางแก้ไขปัญหาให้สังคมด้วยสื่อมวลชน หมายถึงอะไร สื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น หากจะกล่าวถึงสื่อมวลชน ต้องทราบความหมายของสื่อมวลชนก่อน ดังนี้ สื่อมวลชน (mass media) หมายถึง สื่อที่สามารถกระจายข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งหรือจากองค์กรหนึ่ง ไปยังมวลชนจำนวนมากโดยเฉพาะประชาชนทั้งประเทศ ในเวลาอันรวดเร็ว ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ การเผยแพร่ในสื่อมวลชนส่วนหนึ่งต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อเวลา ซื้อพื้นที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อย่างไรก็ตามสามารถใช้สื่อมวลชนแบบให้เปล่าได้ หากองค์กรนั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจแก่การเผยแพร่ หรือบังคับโดยข้อกฎหมาย และหากจะถามว่าสื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง จะขออธิบายดังนี้ บทบาทหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน(Function of Mass Communication)บทนำปัจจุบันชีวิตของมนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับการสื่อมวลชนไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลเหนือจิตใจของประชาชน ซึ่งถูกกำหนดและชักจูงให้เกิดความรู้สึกหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว สื่อมวลชนเองก็จะต้องตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องกระทำและมองดูบทบาทของตนที่จะมีส่วนในการจรรโลงสังคมให้ดีขึ้น และปรับบทบาทของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และช่วยเป็นกระจกสะท้อนภาพปัญหาและทางแก้ไขปัญหาให้สังคมด้วยความหมายของ “บทบาท” และ “หน้าที่”สมควร กวียะ (2540) ให้ความหมายของคำว่า บทบาท หน้าที่ ไว้ดังนี้บทบาท (role) หมายถึง การหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนหรือแบ่งงานกันทำตามที่ได้ตกลงกันหรือได้รับมอบหมาย มักจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาจจะรู้กันโดยธรรมชาติ หรือรู้โดยจารีตประเพณี (เช่น บทบาทของพ่อแม่ต้องสั่งสอนอบรมลูกให้เป็นคนดี มีอนาคต) หรือรู้โดยจริยธรรม (เช่น หนังสือพิมพ์ต้องเสนอข่าวโดยไม่มีเจตนาร้ายต่อผู้อื่นเคลือบแฝงอยู่) หรือรู้กันโดยที่เขียนไว้หรือตกลงกันไว้หน้าที่ (duty) หมายถึง วงแห่งกิจการ กิจที่ควรทำ กิจที่จะต้องทำ หรือบทบาทหน้าที่ต้องปฏิบัติภายใต้คำสั่งหรือขนมธรรมเนียมตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นไปตาม ยศ ตำแหน่ง อาชีพ หรือวิชาชีพบทบาทหน้าที่ (Function) หมายถึง ภารกิจ พันธกิจ หรืองานที่จะต้องทำ หรืองานที่ผูกพันครอบคลุมถึงสิ่งที่ควรจะทำโดยธรรมชาติ จารีตประเพณี จริยธรรมและสิ่งที่จะต้องกระทำตามภาระที่กำหนดไว้บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน (Mass Media Function)บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน หมายถึง การกระทำของสื่อมวลชนที่ได้ส่งผล กำลังส่งผลหรือที่จะส่งผลต่อชีวิตและสังคมนั่นเอง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นไปตามธรรมชาติของการสื่อสารมวลชนหรือเป็นไปตามจารีตประเพณีหรือศีลธรรมจรรยาของสังคม ตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้สำหรับอาชีพหรือวิชาชีพสื่อมวลชนนั้นๆบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางด้านสังคมโดยรวมและบุคคลทั้งทางลบและทางบวก ยกตัวอย่างเช่น สื่อมวลชนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจและการอุตสาหกรรมอย่างขาดไม่ได้ ช่วยสร้างงานให้กับคนงานจำนวนหลายล้านคน ในวงการสื่อเองก็เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งมีการลงทุนจำนวนมหาศาล สื่อมวลชนกลายเป็นศูนย์รวมทางด้านการเมือง โดยมีการใช้สื่อเพื่อการรณรงค์ทางการเมืองของพรรค การหาเสียง และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป การสื่อสารมวลชนเข้าไปแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชน การรับฟังรายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนที่อยู่ในเมืองและในชนบท ทั้งเพื่อความบันเทิง การรับรู้ข่าวสารต่างๆจากภายในประเทศและต่างประเทศ ความรู้และวิทยาการต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนข้อมูลของสินค้าและบริการที่โฆษณาผ่านสื่อต่างๆ หนังสือหรือนิตยสารช่วยให้เราสามารถรับความรู้และข่าวสารทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน การเข้าชมภาพยนตร์ตามโรงภาพยนตร์ที่มีอยู่ทั่วไปเป็นการตอบสนองทางด้านความบันเทิงและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในสังคมต่างๆอย่างไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงผลในด้านตรงกันข้ามหรือด้านลบแล้ว การวิจารณ์สื่อมวลชนที่ผ่านมาแสดงให้เราเห็นว่า สื่อมวลชนสามารถทำให้เกิดผลบางอย่างที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้น หลายครั้งที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงผลเสียต่อสังคมที่เกิดจากการกระทำของสื่อมวลชน เช่นการบริโภคข่าวสารที่ไม่เป็นประโยชน์ การมอมเมาประชาชนให้หลงเชื่อข่าวสารที่เกี่ยวกับไสยศาสตร์ โชคลาง การใบ้หวยของเกจิอาจารย์ชื่อดัง จากการประโคมข่าวของสื่อมวลชน การพยายามสร้างข่าวเพื่อเป็นประโยชน์ของคนบางกลุ่มบางพวกโดยใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือ หรือแม้แต่นักข่าวที่ไร้จรรยาบรรณ ใช้สื่อมวลชนเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์หรืออามิสสินจ้างที่ไม่ถูกต้องตามกฎ ระเบียบขององค์กร เป็นต้นหากสื่อมวลชนได้ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของสถาบันที่มีต่อประชาชน และรู้ถึงบทบาท ในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของสื่อ และพยายามกำหนดบทบาทปละหน้าที่ไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ก็เชื่อแน่ได้ว่าจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมทั้งประเทศและของโลกที่เราอาศัยอยู่บทบาทหน้าที่ตามความคิดเห็นของนักวิชาการได้มีนักวิชาการในสาขาต่างๆ เช่น นักสังคมวิทยา นักจิตวิทยา นักการศึกษา และนักการสื่อสาร ให้ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชนไว้ต่างๆกัน หลายแง่หลายมุม การได้ศึกษาแนวคิดเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจสื่อมวลชนได้อย่างดี จะขอยกความคิดเห็นตัวอย่างนักรัฐศาสตร์คนหนึ่งที่ ชื่อ ลาสเวลส์ บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนตามแนวคิดของลาสเวลส์ (Lasswell’s Tree Function)Harold D. Lasswell ซึ่งเป็นนักรัฐศาสตร์ ชาวอเมริกัน ได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในยุคแรกๆ โดยในปี คศ.1948 Lasswell ได้อธิบายแบบจำลองทางการสื่อสารไว้ว่า กระบวนการติดต่อสื่อสารประกอบไปด้วย ผู้ส่ง (Who) พูดอะไร (Says what) โดยใช้ช่องทางไหน (In which channel) ไปถึงใคร (To whom) และเกิดผลอะไรบ้าง? (With what affect) และกล่าวถึง หน้าที่ของสื่อมวลชนในหนังสือ “The Structure and Function Communication” ว่ามีอยู่ 3 ประการคือ1.หน้าที่ในการสังเกตการณ์และรายงานสภาพแวดล้อมทางสังคม (Surveillance of the Environment)2.หน้าที่ในประสานสัมพันธ์ส่วนต่างๆของสังคมให้รวมตัวกันอยู่ได้ (Correlation of the Different parts of Society in Responding to Environment)3.หน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคม (Transmission of Social Heritage from one Generation to the next) ในรายงานเล่มนี้ จะขอนำเสนอในหัวเรื่องที่ 1 คือ หน้าที่ในการสังเกตการณ์และรายงานสภาพแวดล้อมทางสังคม (Surveillance of the Environment) หน้าที่ในการสังเกตการณ์และรายงานสภาพแวดล้อมทางสังคม (Surveillance of the Environment)เป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชนที่สำคัญที่สุดจากหน้าที่ 3 ประการ โดยพาดพิงไปถึงการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในการเก็บรวบรวมข่าวสาร ที่อาจมีผลกระทบต่อสมาชิกในสังคมและทำการกระจายข่าวสารออกไปให้สมาชิกในสังคมได้ทราบ ซึ่งหน้าที่นี้ตรงกับหน้าที่ของการสื่อสารโดยทั่วไป คือ การแจ้งให้ทราบ (to inform) ซึ่ง Lasswell เรียกว่าบทบาทในการตรวจตราสอดส่อง (surveillance role) ซึ่งสื่อจะเป็นผู้สำรวจดูสิ่งที่อยู่รอบตัวและตีความหมายสิ่งที่เห็นรายงานให้สังคมทราบ สื่อมวลชนจะเป็นผู้เฝ้าดูเหตุการณ์หรือเรื่องราวใดที่เกิดขึ้นภายในสังคมที่ผูรับสารควรรับทราบ สื่อมวลชนก็จะเลือกมานำเสนอ ซึ่งเข้าลักษณะการกลั่นกรองข่าวสารก่อนถึงมือผูรับซึ่งเราเรียกบทบาทนี้ว่า ผู้เฝ้าประตู(Gate Keeper) และเตือนสังคมให้รับทราบสิ่งที่เป็นอันตรายต่อชุมชน (เช่น วินาศภัยตามธรรมชาติ การเพิ่มของสถิติอาชญากรรมตัวชี้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ฯลฯ) ถ้าเกิดการเตือนภัยขึ้นอย่างถูกต้องตามเวลา ชุมชนก็อาจจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีเวลาแก้ไขเปลี่ยนแปลง ชุมชนก็สามารถเตรียมตัวเผชิญกับอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องนอกจากการเตือนภัยแล้ว สื่อมวลชนก็ยังมีหน้าที่นำเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา การเสนอข่าวการขึ้นลงของตลาดหุ้น ฯลฯ ในสังคมประชาธิปไตย ที่ซึ่งรัฐบาลสามารถรับฟังเสียงประชาชน ประชาชนจึงสามารถเสนอสิ่งต่างๆ ให้รัฐบาลเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจต่อไปตามหน้าที่นี้ประชาชนจะรับทราบข่าวสารข้อเท็จจริง ที่ได้จากแหล่งข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา มิใช่เกิดจากการสอดใส่ความคิดหรือค่านิยมส่วนตัวลงไป และอาจจะถามต่อไปอีกว่า สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคืออะไร ปัจจุบันสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ โทรทัศน์ เพราะว่า เกือบทุกครัวเรือน ต่างก็มีโทรทัศน์กันทั้งนั้น ทำให้สื่อ โทรทัศน์มีอิทธิพลมาก อีกทั้งยังเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มชนและสามารถดึงดูดความสนใจจากคนดูมากที่สุด ซึ่งบางท่านอาจจะมีความคิดเห็นกับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม ในที่นี้จะกล่าวถึง ความคิดเห็นนี้ การจัดเรตติ้งนี้ทำให้สามารถแบ่งประเภทเกี่ยวกับรายการได้เหมาะสมกับวัย เพื่อได้คำแนะนำกับบุคคลที่ดูอย่างเหมาะสม และช่วยให้สื่อโทรทัศน์ได้ปรับเปลี่ยนตามผลโหวต ทำให้แต่ละรายการมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดประเภทรายการส่วนมากที่มีปัญหาจะเป็นละคร กับรายการเฉพาะ เพราะตอนนี้จะมุ่งเน้นที่เด็ก แต่มันไม่ช่วยแก้ปัญหาได้คือต้องเริ่มจากครอบครัว ซึ่งการดูรายการสักอย่าง ยกตัวอย่าง เช่น รายการเฉพาะ เด็กสามารถดูได้แต่ผู้ปกครองต้องให้คำแนะนำว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนไม่ดี และในปัจจุบัน SMS ก็ได้เข้ามาบทบาทมากในปัจจุบัน ดังที่ท่านได้เห็นในโทรทัศน์ ซึ่งต่างก็มีผลดีผลเสียกับสังคม ดังนี้ ผลดี คือ ช่วยให้ข่าวสารมีความกระจายตัวออกไปสู่ยังท้องที่ต่าง ๆ เช่น หากอยู่ใต้ คนอยู่ใต้ก็ส่ง SMS ขึ้นหน้าจอทีวี ก็ทำให้คนที่ดูทีวีอยู่ได้รู้เหมือนกัน ว่าเกิดอะไรขึ้นกับทางใต้บ้าง ผลเสีย คือ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ซึ่งบางความคิดเห็นมันก็อาจจะแรงไปอาจมีผลกระทบต่อผู้ที่ได้อ่านหรือดู แต่หากการนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบัน การเรียนการสอนมีความทันสมัยมากขึ้น จึงต้องมีการนำสื่อมวลชนมาใช้ในการเรียนการสอน และทำให้มีความรู้ที่กว้างขวางมากขึ้นกว่าการอยู่แต่ในเนื้อหาของหนังสือ ถึงสื่อมวลชนมีการนำเนื้อหาสาระที่ไม่มากหรือไม่ก็ตาม แต่ยังทำให้มีการคิดที่กว้างขวางขึ้นมากกว่าเดิมซึ่งแนวทางการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษา ก็จะเป็นการให้นักศึกษาหรือนักเรียนหาข่าวหรือสาระประโยชน์ที่ได้รับจาก สื่อมวลชนต่าง ๆ ที่ได้นำสาระนั้น ๆ มาเผยแพร่ หรือมีการให้นำข่าวหรือสาระนั้น นำมาเสนอหน้าชั้นเรียน ว่าแต่ละคนได้รับสาระอะไร จากสื่อมวลชนที่ตนเองได้รับสาระนั้น