วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

สื่อมวลชน







บทนำ

ปัจจุบันชีวิตของมนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลเหนือจิตใจของประชาชน ซึ่งถูกกำหนดและชักจูงให้เกิดความรู้สึกหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว สื่อมวลชนเองก็จะต้องตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องกระทำและมองดูบทบาทของตนที่จะมีส่วนในการจรรโลงสังคมให้ดีขึ้น และปรับบทบาทของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และช่วยเป็นกระจกสะท้อนภาพปัญหาและทางแก้ไขปัญหาให้สังคมด้วยสื่อมวลชน หมายถึงอะไร สื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น หากจะกล่าวถึงสื่อมวลชน ต้องทราบความหมายของสื่อมวลชนก่อน ดังนี้ สื่อมวลชน (mass media) หมายถึง สื่อที่สามารถกระจายข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งหรือจากองค์กรหนึ่ง ไปยังมวลชนจำนวนมากโดยเฉพาะประชาชนทั้งประเทศ ในเวลาอันรวดเร็ว ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ การเผยแพร่ในสื่อมวลชนส่วนหนึ่งต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อเวลา ซื้อพื้นที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อย่างไรก็ตามสามารถใช้สื่อมวลชนแบบให้เปล่าได้ หากองค์กรนั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจแก่การเผยแพร่ หรือบังคับโดยข้อกฎหมาย และหากจะถามว่าสื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง จะขออธิบายดังนี้ บทบาทหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน(Function of Mass Communication)บทนำปัจจุบันชีวิตของมนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับการสื่อมวลชนไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลเหนือจิตใจของประชาชน ซึ่งถูกกำหนดและชักจูงให้เกิดความรู้สึกหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว สื่อมวลชนเองก็จะต้องตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องกระทำและมองดูบทบาทของตนที่จะมีส่วนในการจรรโลงสังคมให้ดีขึ้น และปรับบทบาทของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และช่วยเป็นกระจกสะท้อนภาพปัญหาและทางแก้ไขปัญหาให้สังคมด้วยความหมายของ “บทบาท” และ “หน้าที่”สมควร กวียะ (2540) ให้ความหมายของคำว่า บทบาท หน้าที่ ไว้ดังนี้บทบาท (role) หมายถึง การหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนหรือแบ่งงานกันทำตามที่ได้ตกลงกันหรือได้รับมอบหมาย มักจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาจจะรู้กันโดยธรรมชาติ หรือรู้โดยจารีตประเพณี (เช่น บทบาทของพ่อแม่ต้องสั่งสอนอบรมลูกให้เป็นคนดี มีอนาคต) หรือรู้โดยจริยธรรม (เช่น หนังสือพิมพ์ต้องเสนอข่าวโดยไม่มีเจตนาร้ายต่อผู้อื่นเคลือบแฝงอยู่) หรือรู้กันโดยที่เขียนไว้หรือตกลงกันไว้หน้าที่ (duty) หมายถึง วงแห่งกิจการ กิจที่ควรทำ กิจที่จะต้องทำ หรือบทบาทหน้าที่ต้องปฏิบัติภายใต้คำสั่งหรือขนมธรรมเนียมตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นไปตาม ยศ ตำแหน่ง อาชีพ หรือวิชาชีพบทบาทหน้าที่ (Function) หมายถึง ภารกิจ พันธกิจ หรืองานที่จะต้องทำ หรืองานที่ผูกพันครอบคลุมถึงสิ่งที่ควรจะทำโดยธรรมชาติ จารีตประเพณี จริยธรรมและสิ่งที่จะต้องกระทำตามภาระที่กำหนดไว้บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน (Mass Media Function)บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน หมายถึง การกระทำของสื่อมวลชนที่ได้ส่งผล กำลังส่งผลหรือที่จะส่งผลต่อชีวิตและสังคมนั่นเอง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นไปตามธรรมชาติของการสื่อสารมวลชนหรือเป็นไปตามจารีตประเพณีหรือศีลธรรมจรรยาของสังคม ตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้สำหรับอาชีพหรือวิชาชีพสื่อมวลชนนั้นๆบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางด้านสังคมโดยรวมและบุคคลทั้งทางลบและทางบวก ยกตัวอย่างเช่น สื่อมวลชนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจและการอุตสาหกรรมอย่างขาดไม่ได้ ช่วยสร้างงานให้กับคนงานจำนวนหลายล้านคน ในวงการสื่อเองก็เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งมีการลงทุนจำนวนมหาศาล สื่อมวลชนกลายเป็นศูนย์รวมทางด้านการเมือง โดยมีการใช้สื่อเพื่อการรณรงค์ทางการเมืองของพรรค การหาเสียง และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป การสื่อสารมวลชนเข้าไปแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชน การรับฟังรายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนที่อยู่ในเมืองและในชนบท ทั้งเพื่อความบันเทิง การรับรู้ข่าวสารต่างๆจากภายในประเทศและต่างประเทศ ความรู้และวิทยาการต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนข้อมูลของสินค้าและบริการที่โฆษณาผ่านสื่อต่างๆ หนังสือหรือนิตยสารช่วยให้เราสามารถรับความรู้และข่าวสารทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน การเข้าชมภาพยนตร์ตามโรงภาพยนตร์ที่มีอยู่ทั่วไปเป็นการตอบสนองทางด้านความบันเทิงและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในสังคมต่างๆอย่างไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงผลในด้านตรงกันข้ามหรือด้านลบแล้ว การวิจารณ์สื่อมวลชนที่ผ่านมาแสดงให้เราเห็นว่า สื่อมวลชนสามารถทำให้เกิดผลบางอย่างที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้น หลายครั้งที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงผลเสียต่อสังคมที่เกิดจากการกระทำของสื่อมวลชน เช่นการบริโภคข่าวสารที่ไม่เป็นประโยชน์ การมอมเมาประชาชนให้หลงเชื่อข่าวสารที่เกี่ยวกับไสยศาสตร์ โชคลาง การใบ้หวยของเกจิอาจารย์ชื่อดัง จากการประโคมข่าวของสื่อมวลชน การพยายามสร้างข่าวเพื่อเป็นประโยชน์ของคนบางกลุ่มบางพวกโดยใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือ หรือแม้แต่นักข่าวที่ไร้จรรยาบรรณ ใช้สื่อมวลชนเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์หรืออามิสสินจ้างที่ไม่ถูกต้องตามกฎ ระเบียบขององค์กร เป็นต้นหากสื่อมวลชนได้ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของสถาบันที่มีต่อประชาชน และรู้ถึงบทบาท ในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของสื่อ และพยายามกำหนดบทบาทปละหน้าที่ไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ก็เชื่อแน่ได้ว่าจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมทั้งประเทศและของโลกที่เราอาศัยอยู่บทบาทหน้าที่ตามความคิดเห็นของนักวิชาการได้มีนักวิชาการในสาขาต่างๆ เช่น นักสังคมวิทยา นักจิตวิทยา นักการศึกษา และนักการสื่อสาร ให้ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชนไว้ต่างๆกัน หลายแง่หลายมุม การได้ศึกษาแนวคิดเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจสื่อมวลชนได้อย่างดี จะขอยกความคิดเห็นตัวอย่างนักรัฐศาสตร์คนหนึ่งที่ ชื่อ ลาสเวลส์ บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนตามแนวคิดของลาสเวลส์ (Lasswell’s Tree Function)Harold D. Lasswell ซึ่งเป็นนักรัฐศาสตร์ ชาวอเมริกัน ได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในยุคแรกๆ โดยในปี คศ.1948 Lasswell ได้อธิบายแบบจำลองทางการสื่อสารไว้ว่า กระบวนการติดต่อสื่อสารประกอบไปด้วย ผู้ส่ง (Who) พูดอะไร (Says what) โดยใช้ช่องทางไหน (In which channel) ไปถึงใคร (To whom) และเกิดผลอะไรบ้าง? (With what affect) และกล่าวถึง หน้าที่ของสื่อมวลชนในหนังสือ “The Structure and Function Communication” ว่ามีอยู่ 3 ประการคือ1.หน้าที่ในการสังเกตการณ์และรายงานสภาพแวดล้อมทางสังคม (Surveillance of the Environment)2.หน้าที่ในประสานสัมพันธ์ส่วนต่างๆของสังคมให้รวมตัวกันอยู่ได้ (Correlation of the Different parts of Society in Responding to Environment)3.หน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคม (Transmission of Social Heritage from one Generation to the next) ในรายงานเล่มนี้ จะขอนำเสนอในหัวเรื่องที่ 1 คือ หน้าที่ในการสังเกตการณ์และรายงานสภาพแวดล้อมทางสังคม (Surveillance of the Environment) หน้าที่ในการสังเกตการณ์และรายงานสภาพแวดล้อมทางสังคม (Surveillance of the Environment)เป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชนที่สำคัญที่สุดจากหน้าที่ 3 ประการ โดยพาดพิงไปถึงการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในการเก็บรวบรวมข่าวสาร ที่อาจมีผลกระทบต่อสมาชิกในสังคมและทำการกระจายข่าวสารออกไปให้สมาชิกในสังคมได้ทราบ ซึ่งหน้าที่นี้ตรงกับหน้าที่ของการสื่อสารโดยทั่วไป คือ การแจ้งให้ทราบ (to inform) ซึ่ง Lasswell เรียกว่าบทบาทในการตรวจตราสอดส่อง (surveillance role) ซึ่งสื่อจะเป็นผู้สำรวจดูสิ่งที่อยู่รอบตัวและตีความหมายสิ่งที่เห็นรายงานให้สังคมทราบ สื่อมวลชนจะเป็นผู้เฝ้าดูเหตุการณ์หรือเรื่องราวใดที่เกิดขึ้นภายในสังคมที่ผูรับสารควรรับทราบ สื่อมวลชนก็จะเลือกมานำเสนอ ซึ่งเข้าลักษณะการกลั่นกรองข่าวสารก่อนถึงมือผูรับซึ่งเราเรียกบทบาทนี้ว่า ผู้เฝ้าประตู(Gate Keeper) และเตือนสังคมให้รับทราบสิ่งที่เป็นอันตรายต่อชุมชน (เช่น วินาศภัยตามธรรมชาติ การเพิ่มของสถิติอาชญากรรมตัวชี้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ฯลฯ) ถ้าเกิดการเตือนภัยขึ้นอย่างถูกต้องตามเวลา ชุมชนก็อาจจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีเวลาแก้ไขเปลี่ยนแปลง ชุมชนก็สามารถเตรียมตัวเผชิญกับอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องนอกจากการเตือนภัยแล้ว สื่อมวลชนก็ยังมีหน้าที่นำเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา การเสนอข่าวการขึ้นลงของตลาดหุ้น ฯลฯ ในสังคมประชาธิปไตย ที่ซึ่งรัฐบาลสามารถรับฟังเสียงประชาชน ประชาชนจึงสามารถเสนอสิ่งต่างๆ ให้รัฐบาลเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจต่อไปตามหน้าที่นี้ประชาชนจะรับทราบข่าวสารข้อเท็จจริง ที่ได้จากแหล่งข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา มิใช่เกิดจากการสอดใส่ความคิดหรือค่านิยมส่วนตัวลงไป และอาจจะถามต่อไปอีกว่า สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคืออะไร ปัจจุบันสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ โทรทัศน์ เพราะว่า เกือบทุกครัวเรือน ต่างก็มีโทรทัศน์กันทั้งนั้น ทำให้สื่อ โทรทัศน์มีอิทธิพลมาก อีกทั้งยังเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มชนและสามารถดึงดูดความสนใจจากคนดูมากที่สุด ซึ่งบางท่านอาจจะมีความคิดเห็นกับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม ในที่นี้จะกล่าวถึง ความคิดเห็นนี้ การจัดเรตติ้งนี้ทำให้สามารถแบ่งประเภทเกี่ยวกับรายการได้เหมาะสมกับวัย เพื่อได้คำแนะนำกับบุคคลที่ดูอย่างเหมาะสม และช่วยให้สื่อโทรทัศน์ได้ปรับเปลี่ยนตามผลโหวต ทำให้แต่ละรายการมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดประเภทรายการส่วนมากที่มีปัญหาจะเป็นละคร กับรายการเฉพาะ เพราะตอนนี้จะมุ่งเน้นที่เด็ก แต่มันไม่ช่วยแก้ปัญหาได้คือต้องเริ่มจากครอบครัว ซึ่งการดูรายการสักอย่าง ยกตัวอย่าง เช่น รายการเฉพาะ เด็กสามารถดูได้แต่ผู้ปกครองต้องให้คำแนะนำว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนไม่ดี และในปัจจุบัน SMS ก็ได้เข้ามาบทบาทมากในปัจจุบัน ดังที่ท่านได้เห็นในโทรทัศน์ ซึ่งต่างก็มีผลดีผลเสียกับสังคม ดังนี้ ผลดี คือ ช่วยให้ข่าวสารมีความกระจายตัวออกไปสู่ยังท้องที่ต่าง ๆ เช่น หากอยู่ใต้ คนอยู่ใต้ก็ส่ง SMS ขึ้นหน้าจอทีวี ก็ทำให้คนที่ดูทีวีอยู่ได้รู้เหมือนกัน ว่าเกิดอะไรขึ้นกับทางใต้บ้าง ผลเสีย คือ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ซึ่งบางความคิดเห็นมันก็อาจจะแรงไปอาจมีผลกระทบต่อผู้ที่ได้อ่านหรือดู แต่หากการนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบัน การเรียนการสอนมีความทันสมัยมากขึ้น จึงต้องมีการนำสื่อมวลชนมาใช้ในการเรียนการสอน และทำให้มีความรู้ที่กว้างขวางมากขึ้นกว่าการอยู่แต่ในเนื้อหาของหนังสือ ถึงสื่อมวลชนมีการนำเนื้อหาสาระที่ไม่มากหรือไม่ก็ตาม แต่ยังทำให้มีการคิดที่กว้างขวางขึ้นมากกว่าเดิมซึ่งแนวทางการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษา ก็จะเป็นการให้นักศึกษาหรือนักเรียนหาข่าวหรือสาระประโยชน์ที่ได้รับจาก สื่อมวลชนต่าง ๆ ที่ได้นำสาระนั้น ๆ มาเผยแพร่ หรือมีการให้นำข่าวหรือสาระนั้น นำมาเสนอหน้าชั้นเรียน ว่าแต่ละคนได้รับสาระอะไร จากสื่อมวลชนที่ตนเองได้รับสาระนั้น